หน้า 1 จากทั้งหมด 1

วิตามินอะไรที่ให้เลือดหยุดเร็วครับ

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 12:49
โดย eventass
คือเพื่อนผมมันเป็นเลือดกำเดาไหลค่อนข้างบ่อยครับอยากจะถามหน่อยตอนนี้มันยังไม่ว่างไปหาหมอ :o
รบกวนหน่อยครับ

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 12:57
โดย pimpon
วิตามิน K อ่ะ :) :)
ข้อห้าม กรุณาอย่าดูรูปโป๊ 555 ล้อเล่นนะ :P :P

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 13:08
โดย Sam Saz
วิตามิน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค

2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

วิตามินเอ ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ของวิตามินเอมีดังนี้

หากขาดจะทำให้เป็นโรคมองไม่เห็นในที่มืด

ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคน

ผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก

วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันตับปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง

วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด

วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก) ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้ วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมีแคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก

วิตามินบีรวม มีดังต่อไปนี้

วิตามินบี1 มีมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง เห็ดฟาง ฯลฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้คาร์โบไฮเดรต การทำงานของหัวใจ หลอดอาหารและระบบประสาท


วิตามินบี2 พบมากในตับ ยีสต์ ไข่ นม เนย เนื้อ ถั่ว และผักใบเขียว ปลาและผลไม้จำพวกส้มแทบไม่มีวิตามินบี2เลย ถ้ากินวิตามินบี 2มากเกินไป ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถถูกขับถ่ายออกมาได้ วิตามินบี2มีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้

มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันที่เรียกกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า ลิปิด

ใช้ในการเผาผลาญกรดอะมิโนทริพโตเฟน กรดนี้มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีความจำเป็นต่อการเกิดสมดุลของ ไนโตรเจนในร่างกาย

เป็นส่วนประกอบสำคัญของสีที่เรตินาของลูกตา ซึ่งช่วยให้สายตาปรับตัวในแสงสว่าง

อาการที่เกิดจากการขาดวิตามินบี2 คือ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร มีอาการทางประสาทการย่อยอาหารไม่ปกติ ถ้าเป็นมากๆปาก และลิ้น อาจแตก

วิตามินบี3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน ประวัติของไนอาซินเริ่มมาจากการที่ประเทศอังกฤษเกิดโรคที่เรียกว่า เพลากรา(Pellagra) อาการของโรคนี้คือ เป็นโรคผิวหนัง ต่อมามีอาการท้องเดิน ในที่สุดก็จะมีอาการทางประสาทถึงขั้นเสียสติและตายไปในที่สุด ซึ่งในสมัยโบราณโรคนี้ไม่มีทางหายได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โกลเบอร์เกอร์(Goldberger)ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบคทีเรีย ได้วิจัยโรคนี้ ซึ่งเขาได้สังเกตเห็นว่า ผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนที่ไม่สามารถกินอาหารจำพวกเนื้อ นม ไข่ ได้เขาจึงสรุปผลออกมาว่า โรคนี้เกิดจากการที่ขาดสารอาหาร ต่อมาเขาทำการทดลองให้อาสาสมัครกินอาหารประเภทเดียวกันกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเพลากรา และเมื่ออาสาสมัครเหล่านั้นเป็นโรคแล้ว เขาก็ทำให้หายโดยให้กินเนื้อสัตว์ นม และยีสต์ เมื่อผลเป็นเช่นนี้ ผู้คนจึงยอมรับว่า ยังมีวิตามินบีอีกชนิดหนึ่งอยู่ในอาหาร ภายหลังเรียกวิตามินนี้ว่า ไนอาซิน สามารถรักษาโรคเพลากราให้หายได้ ไนอาซินมีมากในตับและไต

หน้าที่ของไนอาซิน

ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

นำไปใช้กับวิตามินชนิดอื่นๆเช่น วิตามินซี รักษาโรคชิโซฟรีเนีย

สามารถใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนไดผล

ความต้องการไนอาซิน

ควรได้รับวันละ 20 มิลลิกรัม การได้รับไนอาซินมากเกินไปไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถขับถ่ายออกมาได้

อาหารที่มีไนอาซินได้แก่ ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ไต หัวใจ

วิตามินบี6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน(Pyridoxin) ความสำคัญของวิตามินบี6 มีดังนี้ คือ

ใช้ในการผาผลาญกรดอะมิโนทริปโตเฟนในร่างกาย

หากขาดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย เพราะวิตามินบี6จะช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอลอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน

ผู้ที่มักขาดวิตามินบี6 ได้แก่ สตรีที่กินยาคุมกำเนิด สตรีที่อยู่ในช่วงของการมีประจำเดือน และหญิงมีครรภ์

อาหารที่มีวิตามินบี6 ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ปลา ไก่ กล้วย ข้าวแดง ฯลฯ

วิตามินบี12 มีอยู่ในอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ(มีวิตามินบี12มากที่สุด) นม ไข่ เนย วิตามินนี้มีอยู่ในพืชน้อยมาก ความสำคัญของ วิตามินบี12 มีดังนี้

มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง

มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท

มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค(nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์

มีส่วนช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

มีส่วนช่วยให้ร่างกายนำไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์

มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท

ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กๆ คือ มีความต้านทานต่อโรค มีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าปกติ

วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิก ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี

ประโยชน์ของวิตามินซีมีดังนี้

ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด

สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระ จายในน้ำได้)

ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า

ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส

หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้

วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมีแคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก

วิตามินอี วิตามินอีได้มาจากพืชในธรรมชาติ ประโยชน์ของวิตามินอีมีดังนี้

ช่วยในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลที่ค้างอยู่ในหลอดเลือดในมนุษย์และสัตว์

ช่วยบำบัดโรคหัวใจ

ช่วยในการป้องกันอันตรายจากโอโซนในบรรยากาศ

ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกใต้ผิวหนัง

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 13:10
โดย Sam Saz
วิตามิน เอ มีมากใน นม เนย เนยแข็ง ตับ น้ำมันตับปลา ผักใบเขียว มะละกอ ฟักทอง แครอท ร่างกายควรได้รับ 5,000 I.U. อาการขาด ตาบอดกลางคืน ตาแห้ง ผิวแห้ง ผิวหนังรอบรูขุมขน และผมหลุดลอก ความต้านทานเชื้อโรคลดลง การเจริญเติบโตช้า พิษจะพบได้ถ้าได้รับขนาดสูง (50,000 I.U.) เป็นเวลานาน อาการพิษ : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง ปวดศรีษะ ความดันในสมองสูงขึ้น ปวดกระดูก ตับถูกทำลาย

วิตามิน บี 1 (ไธอามีน) พบมากในยีสต์ ตับ ไต หัวใจ ข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ (ยกเว้น หอย และปลาน้ำจืดดิบจะมี Thiaminase ซึ่งทำลายวิตามิน บี 1) ควรได้รับวันละ 1 – 1.5 มก. อาการขาด เหน็บชา อาการเริ่มแรก อ่อนเพลีย ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูก แขนขาไม่มีแรง ชาปลายมือปลายเท้า ชีพจรเร็วขึ้น ถ้าขาดมากจะเป็นเหน็บชา ในบางคนอาจมีอาการทางหัวใจร่วมด้วย

อาการพิษ : พบน้อย แต่ถ้าให้โดยการฉีดในขนาด 100 เท่าของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ จะทำให้ปวดศีรษะ ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น และมีอาการแพ้

วิตามิน บี 2 (ไรโบฟลาวิน) พบใน ตับ เนื้อแดง หมู ปลา ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ควรบริโภควันละ 1–1.6 มก.

อาการขาด : ริมฝีปาก ปากและลิ้นอักเสบบวมแดง ปากและมุมปากแตก ตาไม่สู้แสง คันและแสบตา มีการอักเสบของปลายประสาท

อาการพิษ ไม่พบ

วิตามิน บี 3 (ไนอาชิน) พบในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว และยีสต์ ควรได้รับวันละ 12 – 18 มก.

อาการขาด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ผิวหนังแห้ง และลอกโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด

ลิ้นบวมแดง ท้องผูกหรือท้องเดิน หงุดหงิด ปวดศรีษะ ความจำเสื่อม ซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่อาจถึงขั้นเป็นโรคจิต

อาการพิษ : ถ้าได้รับสูง (มากกว่า 35 มก.) ทำให้ผิวหนังแดง รู้สึกชาที่ปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตับทำงานผิดปกติ ตาพร่า

วิตามิน บี 5 (กรดแพนโทธินิก) พบในอาหารทั่วไป พบมากใน เนื้อ ไข่ ธัญหาร และถั่ว ควรได้รับวันละ 4 – 7 มก.

ภาวะการขาด พบน้อย เคยมีรายงานในคนที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า

อาการพิษ ยังไม่มีรายงาน

วิตามีน บี 6 ( ไพริดอกซิน ) พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ ธัญหาร ผัก และถั่วต่างๆ ควรได้รับวันละ 1 – 2 มก.

ภาวะการขาด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปากแตกและอักเสบ แผลในปาก ลิ้นอักเสบ ภูมิต้านทานลดลง โลหิตจาง เด็กเจริญเติบโตช้า (ภาวะการขาดพบได้น้อยแต่คนที่ได้รับยา Isoniazid จะขาดวิตามินบี 6 ได้)

อาการพิษ มีรายงานในคนที่ได้รับ 2 – 6 กรัมต่อวัน ทำให้มีอาการประสาทเสื่อม บางคนไม่สามารถเดินได้

วิตามิน บี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน) พบใน ตับ ไต นม ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 0.9 – 2.8 ไมโครกรัม

ภาวะการขาด โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ เยื่อหุ้มประสาทถูกทำลาย มีอาการทางประสาท ชา และปวดแสบปวดร้อนที่เท้า ขาจะแข็งและอ่อนแรง

อาการพิษ ไม่มีรายงานถึงแม้ได้รับวันละ 100 ไมโครกรัม

กรดโฟลิก (โฟเลต) แหล่งอาหาร: ตับ ยีสต์ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไข่ นม ควรได้รับวันละ 300-600 ไมโครกรัม

ภาวะการขาด โลหิตจาง ผิวหนังอักเสบ การเจริญเติบโตช้า ลิ้นและปากอักเสบ ท้องเดิน สตรีตั้งครรภ์ถ้าขาดโฟลิก อาจมีผลให้ทารกที่เกิดมี neural tube defect เช่นกระดูกสันหลังโหว่

อาการพิษ ไม่พบถึงแม้รับประทานในขนาดสูง แต่ในสัตว์ทดลอง ถ้าฉีดในขนาด 1000 เท่า ของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ ทำให้เกิดอาการชัก

วิตามิน ซี (กรดแอสคอร์บิค) พบมากในผลไม้พวก ส้ม ฝรั่ง ผัก และเครื่องในสัตว์ ควรได้รับวันละ 60-90 มก.

ภาวะการขาด ลักปิดลักเปิด บาดแผลหายช้า ปวดกระดูกและข้อ กระดูกหักได้ง่าย เส้นเลือดเปราะ เป็นรอยฟกซ้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากการดูดซึมเหล็กบกพร่อง อาจมีภาวะโลหิตจางได้ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย

อาการพิษ ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆ จะรบกวนทางเดินอาหาร ท้องเดิน เนื่องจากวิตามิน ซี จะถูกเมตาโบไลค์ในร่างกายให้เป็นออกซาเลต ดังนั้นการได้รับในปริมาณสูงๆ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิด renal oxalate stones(นิ่ว) และปริมาณวิตามิน ซี ที่สูงเกินไปจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ ทำให้ได้ผลการทดสอบเป็นบวกเทียม ( false-positive test ) สำหรับการทดสอบกลูโคสในปัสสาวะ

วิตามิน ดี พบมากในตับ น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม เนย (ร่างกายสังเคราะห์ได้โดยให้ได้รับแสงแดดในตอนเช้าก็เพียงพอ) ควรได้รับวันละ 200 – 400 I.U.ภาวะการขาด กระดูกอ่อน (ในเด็ก) กระดูกโปร่งบาง (ในผู้ใหญ่) อาการพิษ การได้รับวิตามินดี ในปริมาณสูงจะมีการสะสมและเกิดพิษได้

อาการพิษที่พบคือ แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียมในปัสสาวะสูง นิ่วในไต กระดูกจะสูญเสียเนื้อกระดูก และมีแคลเซียมมาจับตามเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เช่น หลอดเลือด ไต และหัวใจ

วิตามิน อี พบในถั่วต่างๆ น้ำมันพืช ไข่แดง ธัญหารทั้งเมล็ด จมูกข้าว

ควรได้รับวันละ 8 – 10 I.U. (ถ้าได้รับไขมันไม่อิ่มตัวมาก ความต้องการวิตามินอี จะเพิ่มขึ้น)

ภาวะการขาด พบได้น้อยเนื่องจากมีในอาหารทั่วไป และร่างกายสะสมไว้ได้ ภาวะการขาดพบในเด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งพบโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ถ้ารุนแรงอาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย

อาการพิษ วิตามินอีค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆเป็นเวลานานจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง เนื่องจากจะไปรบกวนการทำงานของวิตามิน เค

วิตามิน เค มีในพืชในรูปฟิลโลคิวโนน (phylloquinone) ส่วนในผลิตภัณฑ์สัตว์จะพบในรูปเมนาคิวโนน (menaquinone) พบมากในตับ ผักใบเขียว จุลินทรีย์ในลำไส้สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้ จึงไม่พบการขาดวิตามินเค ในคนปกติ แต่อาจพบได้ในคนที่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ ควรได้รับวันละ 15-65 ไมโครกรัม อาการขาด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดจึงควรได้รับการฉีดวิตามินเค 1 มก. อาการพิษ การเสริมวิตามินเคมากเกินไป ทำให้เลือดแข็งตัว และเซลล์เม็ดเลือดแตก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และมีสารสีเหลืองของบิลิรูบิน(bilirubin) ในเลือดสูง ถ้ามีปริมาณสูงมากก็จะทำลายสมองได้

ไบโอติน พบในอาหารทั่วไปพบมากใน ตับ ไข่แดง นม ถั่วต่างๆ (ต้องหลีกเลี่ยงการกินไข่ขาวดิบเนื่องจากในไข่ขาวดิบจะมี avidin มาจับกับไบโอตินทำให้ไม่ถูกดูดซึม)

ควรได้รับวันละ 20-30 ไมโครกรัม ภาวะการขาด ไม่มีรายงานการขาด แต่พบในการทดลองในคนที่กินไข่ขาวดิบ จะมีอาการผิวหนังอักเสบ ปากเป็นแผล เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ซึมเศร้า และโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อาการพิษ ไม่มีรายงาน

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 13:11
โดย Sam Saz
ยาวมาก แต่อ่านเอาเองนะครับ.... ความรู้ๆๆ

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 14:31
โดย eventass
:o ยาวดีแท้อ่านจบตาลายเลย
สงสัยต้องกินวีต้าเบอร์รี่
ขอบคุณสำหรัยความรู้เยอะมาก :)

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 15:14
โดย mmuz*
:o

โพสต์เมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 22:34
โดย Mamadou Sakho
น่าจะ K ที่ดีสุดนะ เรื่องเลือดหยุดเรวอ่ะ - -*

โพสต์เมื่อ: พุธ ธ.ค. 05, 2007 10:36
โดย boom
factor ในการหยุดไหลของเลือดมันมีมากมาย
ไปมองที่วิตามินเคอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่ทางแก้ไขก็ได้

โพสต์เมื่อ: พุธ ธ.ค. 05, 2007 12:45
โดย funfuangz
เราชาวบ้าน

ท่องไว้ว่า K

หรือเอาให้ง่าย อยู่ในตับ ครับ !!

โพสต์เมื่อ: พุธ ธ.ค. 05, 2007 21:11
โดย Pirate7
วิตามินเค
เอาเป็นว่ากินอาหารที่มีวิตามินหลากหลายเยอะๆ บางทีเลือดออกบ่อยๆ อาจจะไม่ได้ขาดวิตามินเคอย่างเดียวละมั้ง ร่างกายมีปัญหารึป่าว ระวังเป็นอันตรายนะ ต้องไปหาหมอๆ

โพสต์เมื่อ: พุธ ธ.ค. 05, 2007 21:41
โดย ไม่ระบุชื่อ
K คับ

โพสต์เมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 06, 2007 09:44
โดย Fire-Pee
วิตามิน k ทำให้เลือดแข็งตัวไวขึ้นครับ
เวลาเป็นแผลเลือดจาหยุดไหลเร็ว