โดย Sam Saz » อังคาร ธ.ค. 04, 2007 13:10
วิตามิน เอ มีมากใน นม เนย เนยแข็ง ตับ น้ำมันตับปลา ผักใบเขียว มะละกอ ฟักทอง แครอท ร่างกายควรได้รับ 5,000 I.U. อาการขาด ตาบอดกลางคืน ตาแห้ง ผิวแห้ง ผิวหนังรอบรูขุมขน และผมหลุดลอก ความต้านทานเชื้อโรคลดลง การเจริญเติบโตช้า พิษจะพบได้ถ้าได้รับขนาดสูง (50,000 I.U.) เป็นเวลานาน อาการพิษ : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง ปวดศรีษะ ความดันในสมองสูงขึ้น ปวดกระดูก ตับถูกทำลาย
วิตามิน บี 1 (ไธอามีน) พบมากในยีสต์ ตับ ไต หัวใจ ข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ (ยกเว้น หอย และปลาน้ำจืดดิบจะมี Thiaminase ซึ่งทำลายวิตามิน บี 1) ควรได้รับวันละ 1 1.5 มก. อาการขาด เหน็บชา อาการเริ่มแรก อ่อนเพลีย ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูก แขนขาไม่มีแรง ชาปลายมือปลายเท้า ชีพจรเร็วขึ้น ถ้าขาดมากจะเป็นเหน็บชา ในบางคนอาจมีอาการทางหัวใจร่วมด้วย
อาการพิษ : พบน้อย แต่ถ้าให้โดยการฉีดในขนาด 100 เท่าของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ จะทำให้ปวดศีรษะ ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น และมีอาการแพ้
วิตามิน บี 2 (ไรโบฟลาวิน) พบใน ตับ เนื้อแดง หมู ปลา ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ควรบริโภควันละ 11.6 มก.
อาการขาด : ริมฝีปาก ปากและลิ้นอักเสบบวมแดง ปากและมุมปากแตก ตาไม่สู้แสง คันและแสบตา มีการอักเสบของปลายประสาท
อาการพิษ ไม่พบ
วิตามิน บี 3 (ไนอาชิน) พบในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว และยีสต์ ควรได้รับวันละ 12 18 มก.
อาการขาด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ผิวหนังแห้ง และลอกโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด
ลิ้นบวมแดง ท้องผูกหรือท้องเดิน หงุดหงิด ปวดศรีษะ ความจำเสื่อม ซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่อาจถึงขั้นเป็นโรคจิต
อาการพิษ : ถ้าได้รับสูง (มากกว่า 35 มก.) ทำให้ผิวหนังแดง รู้สึกชาที่ปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตับทำงานผิดปกติ ตาพร่า
วิตามิน บี 5 (กรดแพนโทธินิก) พบในอาหารทั่วไป พบมากใน เนื้อ ไข่ ธัญหาร และถั่ว ควรได้รับวันละ 4 7 มก.
ภาวะการขาด พบน้อย เคยมีรายงานในคนที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
อาการพิษ ยังไม่มีรายงาน
วิตามีน บี 6 ( ไพริดอกซิน ) พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ ธัญหาร ผัก และถั่วต่างๆ ควรได้รับวันละ 1 2 มก.
ภาวะการขาด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปากแตกและอักเสบ แผลในปาก ลิ้นอักเสบ ภูมิต้านทานลดลง โลหิตจาง เด็กเจริญเติบโตช้า (ภาวะการขาดพบได้น้อยแต่คนที่ได้รับยา Isoniazid จะขาดวิตามินบี 6 ได้)
อาการพิษ มีรายงานในคนที่ได้รับ 2 6 กรัมต่อวัน ทำให้มีอาการประสาทเสื่อม บางคนไม่สามารถเดินได้
วิตามิน บี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน) พบใน ตับ ไต นม ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 0.9 2.8 ไมโครกรัม
ภาวะการขาด โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ เยื่อหุ้มประสาทถูกทำลาย มีอาการทางประสาท ชา และปวดแสบปวดร้อนที่เท้า ขาจะแข็งและอ่อนแรง
อาการพิษ ไม่มีรายงานถึงแม้ได้รับวันละ 100 ไมโครกรัม
กรดโฟลิก (โฟเลต) แหล่งอาหาร: ตับ ยีสต์ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไข่ นม ควรได้รับวันละ 300-600 ไมโครกรัม
ภาวะการขาด โลหิตจาง ผิวหนังอักเสบ การเจริญเติบโตช้า ลิ้นและปากอักเสบ ท้องเดิน สตรีตั้งครรภ์ถ้าขาดโฟลิก อาจมีผลให้ทารกที่เกิดมี neural tube defect เช่นกระดูกสันหลังโหว่
อาการพิษ ไม่พบถึงแม้รับประทานในขนาดสูง แต่ในสัตว์ทดลอง ถ้าฉีดในขนาด 1000 เท่า ของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ ทำให้เกิดอาการชัก
วิตามิน ซี (กรดแอสคอร์บิค) พบมากในผลไม้พวก ส้ม ฝรั่ง ผัก และเครื่องในสัตว์ ควรได้รับวันละ 60-90 มก.
ภาวะการขาด ลักปิดลักเปิด บาดแผลหายช้า ปวดกระดูกและข้อ กระดูกหักได้ง่าย เส้นเลือดเปราะ เป็นรอยฟกซ้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากการดูดซึมเหล็กบกพร่อง อาจมีภาวะโลหิตจางได้ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย
อาการพิษ ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆ จะรบกวนทางเดินอาหาร ท้องเดิน เนื่องจากวิตามิน ซี จะถูกเมตาโบไลค์ในร่างกายให้เป็นออกซาเลต ดังนั้นการได้รับในปริมาณสูงๆ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิด renal oxalate stones(นิ่ว) และปริมาณวิตามิน ซี ที่สูงเกินไปจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ ทำให้ได้ผลการทดสอบเป็นบวกเทียม ( false-positive test ) สำหรับการทดสอบกลูโคสในปัสสาวะ
วิตามิน ดี พบมากในตับ น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม เนย (ร่างกายสังเคราะห์ได้โดยให้ได้รับแสงแดดในตอนเช้าก็เพียงพอ) ควรได้รับวันละ 200 400 I.U.ภาวะการขาด กระดูกอ่อน (ในเด็ก) กระดูกโปร่งบาง (ในผู้ใหญ่) อาการพิษ การได้รับวิตามินดี ในปริมาณสูงจะมีการสะสมและเกิดพิษได้
อาการพิษที่พบคือ แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียมในปัสสาวะสูง นิ่วในไต กระดูกจะสูญเสียเนื้อกระดูก และมีแคลเซียมมาจับตามเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เช่น หลอดเลือด ไต และหัวใจ
วิตามิน อี พบในถั่วต่างๆ น้ำมันพืช ไข่แดง ธัญหารทั้งเมล็ด จมูกข้าว
ควรได้รับวันละ 8 10 I.U. (ถ้าได้รับไขมันไม่อิ่มตัวมาก ความต้องการวิตามินอี จะเพิ่มขึ้น)
ภาวะการขาด พบได้น้อยเนื่องจากมีในอาหารทั่วไป และร่างกายสะสมไว้ได้ ภาวะการขาดพบในเด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งพบโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ถ้ารุนแรงอาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย
อาการพิษ วิตามินอีค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆเป็นเวลานานจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง เนื่องจากจะไปรบกวนการทำงานของวิตามิน เค
วิตามิน เค มีในพืชในรูปฟิลโลคิวโนน (phylloquinone) ส่วนในผลิตภัณฑ์สัตว์จะพบในรูปเมนาคิวโนน (menaquinone) พบมากในตับ ผักใบเขียว จุลินทรีย์ในลำไส้สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้ จึงไม่พบการขาดวิตามินเค ในคนปกติ แต่อาจพบได้ในคนที่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ ควรได้รับวันละ 15-65 ไมโครกรัม อาการขาด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดจึงควรได้รับการฉีดวิตามินเค 1 มก. อาการพิษ การเสริมวิตามินเคมากเกินไป ทำให้เลือดแข็งตัว และเซลล์เม็ดเลือดแตก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และมีสารสีเหลืองของบิลิรูบิน(bilirubin) ในเลือดสูง ถ้ามีปริมาณสูงมากก็จะทำลายสมองได้
ไบโอติน พบในอาหารทั่วไปพบมากใน ตับ ไข่แดง นม ถั่วต่างๆ (ต้องหลีกเลี่ยงการกินไข่ขาวดิบเนื่องจากในไข่ขาวดิบจะมี avidin มาจับกับไบโอตินทำให้ไม่ถูกดูดซึม)
ควรได้รับวันละ 20-30 ไมโครกรัม ภาวะการขาด ไม่มีรายงานการขาด แต่พบในการทดลองในคนที่กินไข่ขาวดิบ จะมีอาการผิวหนังอักเสบ ปากเป็นแผล เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ซึมเศร้า และโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อาการพิษ ไม่มีรายงาน
sazzzzzzzzzzzzzzz กระหายในชัยชนะ กระทำสิ่งที่ควร กระฮึ่มด้วยเพลงเตะชั้นอ๋อง ทะลวงตะข่ายมาเป็นกรอบเป็นกำ ตะโกนดังๆๆๆๆ ว่าแมน ยู
--------------------------------------------------