
ท้าวหิรัญพนาสูร ประวัติและตำนาน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ในขณะที่มีการค้นคว้าเรื่องราวทางภารตวิทยาของอินเดียหรืออนุทวีป ในฐานะเมืองขึ้นของจักรวรรดิอย่างคึกคัก ส่งผลให้พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องราวอันเร้นลับของอินเดียที่ถ่ายทอดผ่าน คัมภีร์และปกรณัมต่างๆ และทรงเป็นต้นแบบในการรับเอาคติความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับ "ภารตะวิทยา"
ท้าวหิรัญพนาสูรปรากฏขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "หิรัญ" หมายถึงเงิน สีเงิน หรือบางแห่งแปลความหมายว่าทอง ส่วน "พนาสูร" เป็นคำเชื่อมกันระหว่าง "พนา" แปลว่า "ป่า" กับ "อสูร" ดังนั้น จึงสื่อความหมายถึงเทพาสูรผู้เป็นใหญ่แห่งป่า ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า "ท้าวหิรัญฮู" มีผู้อธิบายว่า "ฮู" มาจาก "Who" ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากในปี พ.ศ.2449 ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเสด็จประพาสมณฑลพายัพ ซึ่งเส้นทางในสมัยนั้นเต็มไปด้วยป่าเขา ภยันตราย และโรคภัยไข้เจ็บ ขณะเมื่อทรงจะออกจากอุตรดิตถ์ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จรู้สึกหวั่นวิตกต่อ ภยันตราย พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า "ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จ ณ ที่แห่งใดๆ ก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจฤๅอสูร อันเป็นสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวง มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริวารผู้โดยเสด็จได้ ถึงในการเสด็จครั้งนี้ก็มีเหมือนกัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้
ใดมีความวิตกไปเลย"
ด้วยกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว ทำให้บรรดาข้าราชบริพารขุนนางใหญ่น้อยอุ่นใจคลายความกังวล ในขณะเสด็จประพาสนั้นปรากฏมีข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเกิดนิมิตฝัน เห็นบุรุษผู้หนึ่งร่างสูงใหญ่ล่ำสัน บอกนามว่า "หิรัญ" และแจ้งว่าตนเป็นอสูรแห่งป่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ จะคอยดูแลปกป้ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และข้าราชบริพารในขณะเดินทาง จึงทรงโปรดฯ ให้ตั้งเครื่องสังเวยในป่าริมพลับพลานั้น และเมื่อทรงเสวยก็จะแบ่งพระกระยาหารไปตั้งเป็นเครื่องเซ่นเสมอๆ ปรากฏว่าการเสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองพายัพครั้งนั้นปราศจากเภทภัย อันตราย ไม่มีใครเจ็บไข้ได้ป่วย และประสบความสำเร็จสมดังตั้งพระราชหฤทัยไว้ทุกประการ
ด้วยเหตุ ดังกล่าวการเสด็จประพาสในคราวต่อๆ มาข้าราชบริพารจึงทำพิธีอัญเชิญเทพาสูรที่ปรากฏในนิมิตตามเสด็จไปด้วยทุก ครั้ง และมีผู้คนมากมายพบเห็นบุรุษในลักษณาการอย่างโบราณ รูปร่างสูงใหญ่ นั่งบ้าง ยืนบ้าง ตามขบวนเสด็จไปด้วยเป็นอันมาก จนข่าวคราวร่ำลือถึงข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ ทำให้ผู้คนเลื่อมใส เคารพท้าวหิรัญพนาสูรกันแต่ครั้งนั้น และโปรดให้หล่อรูปท่านท้าวประดิษฐานไว้ประจำพระราชวังพญาไท "รูปท้าวหิรัญพนาสูร" จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเคารพกราบไหว้ให้ป้องกันภยันตราย ให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

(ที่มาwww.itti-patihan.com)
หากใครเคยไปใช้บริการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คงจะมีโอกาสได้เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาลแห่งนี้กันบ้าง นั่นคือ ศาลท้าวหิรัญพนาสูร ที่ประวัติและความเป็นมาไม่ธรรมดา ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์รวมใจและศูนย์กลางแห่งความศรัทธาของสาธารณชน
ไม่ว่าใครก็ตามยามเคราะห์หามยามร้ายหรือล้มป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ญาติ ๆ มักไปบนบานศาลกล่าวที่ศาลท้าวหิรัญพนาสูรแห่งนี้และน่าแปลกที่ส่วนใหญ่สมประสงค์กันทุกราย กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์เคียงคู่สถานพยาบาลและสถานบริการทางการแพทย์ยุคใหม่อย่างเหลือเชื่อ
ท้าวหิรัญพนาสูร จัดเป็นเทพกึ่งอสูรที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ (ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม) เมื่อคราว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ยังทรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร ประมาณ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ได้เสด็จประพาสหัวเมืองลพบุรี คืนหนึ่งข้าราชบริพารนิมิตว่า มีชายฉกรรจ์รูปร่างสูงใหญ่มาหา บอกว่าชื่อ หิรัญ เป็นอสูรชาวป่า นับจากนี้จะคอยตามเสด็จฯ ไม่ว่าจะทรงประทับอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด จะคอยดูแล ปกปักษ์รักษามิให้ภัยร้ายมากล้ำกราย
ครั้นข้าราชบริพารกราบบังคมทูลเรื่องราวนิมิตให้ทรงทราบ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำรัสให้จุดธูปเทียนและเครื่องเซ่นสังเวยให้อสูรหิรัญในป่าเมืองลพบุรีทันที และทุกครั้งไม่ว่าพระองค์ท่านจะเสด็จฯไปที่ใด เมื่อยามเสวยพระกระยาหาร จะทรงรับสั่งให้จัดสำรับอาหารคาวหวานเซ่นสังเวย อสูรหิรัญ ทุกครั้งไป
เคยมีเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ ท้าวหิรัญพนาสูร โดย จหมื่นเทพดรุณทร เล่าไว้ว่า เมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูร ขึ้นนั้น โดยพระยาอาทรธรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) ดำเนินการจัดสร้าง มิสเตอร์แกลเลตตี ช่างชาวอิตาลีที่ทำงานในกรมศิลปากรเป็นผู้หล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างฝรั่งก็ใช้เชือกผูกคอชักรอกขึ้นไปประดิษฐาน ต่อมาเกิดล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ คอเคล็ดทำงานไม่ได้ ต้องนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปกราบไหว้ขอขมาท้าวหิรัญพนาสูรจึงหายเป็นปกติอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้กลายเป็นที่โจษขานกันปากต่อปาก
อีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นกับเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่ง เกิดประชวรปัสสาวะเป็นเลือด ได้เสด็จมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แพทย์เอกซเรย์แจ้งว่าจะต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่พระญาติทราบประวัติและความศักดิ์สิทธิ์ของ ท้าวหิรัญพนาสูร เป็นอย่างดี จึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการะรูปหล่อภายในโรงพยาบาล ปรากฎว่าหายจากอาการประชวรอย่างเหลือเชื่อ โดยไม่ต้องผ่าตัดแต่อย่างใด
จากเรื่องเล่าขานความศักดิ์สิทธิ์นี้เอง ทุกวันนี้มีผู้ป่วย ญาติพี่น้องและผู้ศรัทธาแวะเวียนไปกราบไหว้ขอพร ท้าวหิรัญพนาสูร บริเวณศาลในโรงพยาบาลไม่ขาดสาย บ่งบอกว่า แม้จะอยู่คนละภพภูมิก็ยังทำหน้าที่ดูแล รักษา และปกป้องผู้ศรัทธาอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย
(ที่มาเหนือลิขิตประกาศิตฟ้าดิน เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 10 ก.ค. 2553 หน้า 35)
คาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร ( เทพเจ้าแห่งดงพญาเย็น )
( จุดธูป 16 ดอก )
นะโม 3จบ
ระหินะ ภูมาสี
ภะสะติ นิรันตะรัง
ลาภะสุขัง ภะวันตุเม
(สวด 9 จบ )
อุปเท่ห์ ผู้ใดสวดบูชาประจำ ป็องกันภัย มีโชคลาภ ค้าขายดี มีอำนาจ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดการ ฯลฯ เมื่อท่านสำเร็จผล ควรจะถวายสังฆทานให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูร
สิ่งที่ควรถวายท่านท้าวหิรัญพนาสูร
บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม
หมูหนาม (ขนุน) มะพร้าวอ่อน 2 ลูก
กล้วยน้ำว้า 1 หวี ดาวเรือง 9 พวง สับปะรด
<object width="425" height="349"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/KGMMorGtVvo?version=3&hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/KGMMorGtVvo?version=3&hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" width="425" height="349" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
<object width="425" height="349"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Rbhpdr7rJoY?version=3&hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/Rbhpdr7rJoY?version=3&hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" width="425" height="349" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>