op เขียน:cecilartist เขียน:Nu_aom เขียน:เมื่อคืนหลังจากออกจากโรงพยาบาลศรีสยาม ก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช ตรวจอุลต้าซาว หมอบอกให้พักฟื้นประมาณ 1 อาทิตย์ เพราะกระดูกอ่อนตรงซี่โครงหัก
พี่ออมบอกว่า ไม่ต้องเปงห่วงแล้วก็ขอบคุงทุกคนมากๆที่มาเยี่ยม+ช่วยเหลือค่ะ^0^
อุลต้าซาว นี้คล้ายๆ อุลต้าแมนป่าวอ่ะ?????
ปล. ขอให้หัวหน้าแก๊งหายไวไวนะคับท่าน อิอิ
ไม่คล้ายอ่ะ รึว่าคล้ายวะ
ก็ขอให้พี่ออมหายไวๆนะฮะ เรายังไม่ได้ไปนอกรอบกันเร้ยย
อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) = คลื่นเหนือเสียงเป็นคลื่นความดัน (pressure wave)
- เป็นคลื่นตามยาว
- มีความถี่มากกว่า 20,000 เฮิรตซ์
(เพราะฉะนั้นมนุษย์จะไม่สามารถได้ยินเสียงคลื่น Ultrasound ได้ เพราะปกติมนุษย์ได้ยินในช่วงความถี่ 20 20,000 Hz)
อัลตราซาวด์ที่มีความเข้มต่ำจะสามารถทะลุผ่านเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต โดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น
เครื่องสแกนเนอร์ อัลตราซาวด์ (ultrasound scanner) จึงใช้หลักการดังกล่าว สามารถทำให้เราเห็นภาพของอวัยวะร่างกายส่วนนั้นได้ วิธีการนี้ได้ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ และยังไปใช้ประโยชน์ได้ด้านอื่นๆอีก
วิธีการให้กำเนิดคลื่นอัลตราซาวด์ มี 2 วิธี
1. ปรากฏการณ์ไพโซอิเล็กทริก (Piezoelectric effect)
- เมื่อผลึกบางชนิดถูกอัดหรือดัน จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวของผลึก (วิธีการนี้นำมาใช้กับการติดไฟเตาแก๊ส)
- วิธีการที่ย้อนกลับของปรากฏการณ์ไพโซอิเล็กทริก คือ วิธีจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับความถี่สูงผ่านผิวผลึก ทำให้ผลึกถูกอัดและขยาย จนเกิดการสั่นของผลึกด้วยความถี่เดียวกับความถี่ของกระแสไฟฟ้า
- การสั่นของผลึกทำให้เกิดอัลตราซาวด์
- ในการแพทย์ ผลึกที่ใช้คือ เกลือของเลดเซอร์โคเนต เลดไททาเนต (lead zirconate lead titanate) เรียกว่า PZT ผลึกชนิดนี้เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลได้มากกว่าควอตซ์ (quartz)
- อัลตราซาวด์จะถูกส่งออกมาจากผลึก PZT ในลักษณะคลื่นดล โดยมีกำลังเฉลี่ยประมาณ 0.1 มิลลิวัตต์
2. ปรากฏการณ์แม็กนีโตสตริกทิฟ (magnetostrictive effect)
- ใช้หลักการของหัวเข็มเครื่องแผ่นเสียง โดยสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำทำให้โลหะบางชนิดสั่น และทำให้อัลตราซาวด์ออกมา
เปรียบเทียบวิธีที่ 1 และ 2
เหมือน > ตัวก่อกำเนิดมีการสั่น ข้อ 1 PZT สั่น, ข้อ 2 โลหะสั่น
ต่าง > ข้อ 1 ใช้กระแสไฟฟ้า, ข้อ 2 ให้สนามแม่เหล็ก
การสร้างภาพอัลตราซาวด์
เมื่อคลื่นอัลตราซาวด์จากแหล่งกำเนิดถูกส่งไปยังบริเวณที่ต้องการตรวจสอบ เช่น เนื้อเยื่อของร่างกาย คลื่นสะท้อนจากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆจะถูกส่งกลับมายังหัวรับคลื่น (transducer) ก่อนที่คลื่นดลคลื่นถัดไปจะถูกส่งออกมา ผลที่เกิดขึ้นจากคลื่นสะท้อนจะปรากฏบนจอออสซิสโลสโคปเป็นชุดๆ
ตำแหน่งของยอดแต่ละยอดแสดงตำแหน่งของผิวสะท้อน และความสูงของยอดแสดงลักษณะของผิวสะท้อน วิธีนี้เรียกว่า เอ-สแกน (A-scan)
ผลของ เอ-สแกน (คลื่นดลหนึ่งคลื่นใช้เวลา 10 ไมโครวินาที, คลื่นดลหนึ่งคลื่นประกอบด้วยคลื่นเล็ก 20 ลูก, มีความถี่ 2 เมกะเฮิรตซ์, คลื่นดลแต่ละคลื่นมีช่วงเวลาห่างกัน 200 300 ไมโครวินาที)
เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัยจึงมีการสร้างภาพโดยวิธี บี-สแกน (B-scan) คือจะสแกนคลื่นแสดงเป็นเส้นผ่านร่างกาย โดนกำลังและตำแหน่งของสัญญาณที่ส่งกลับมาจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำของ computer และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งไปแสดงผลบนจอภาพ 2 มิติ
ประโยชน์ของอัลตราซาวด์
1. ใช้ในการสแกนตรวจอวัยวะภายใน อาศัยหลักการทาง physics 2 แบบคือ
- ดอปเพลอร์ > วินิจฉัยอวัยวะที่เคลื่อนที่ เช่น ลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจ ผิวหนัง ทารกในครรภ์
- เอ็คโค > หลักการสะท้อนของคลื่นเสียง ส่งคลื่นความถี่ 1-10 MHz โดยคลื่นสะท้อนจะถูกเปลี่ยนเป็นพัลส์ทางไฟฟ้า ทำให้เกิดเป็นภาพบนฉาก อวัยวะที่วินิจฉัยเช่น สมอง ลูกตา ก้อนเนื้อมะเร็ง กล้ามเนื้อ
2. ค้นหาวัตถุและตำแหน่งของวัตถุ (วัดเวลาที่คลื่นสะท้อนเคลื่อนที่มายังต้นกำเนิด)
3. ช่วยทำกายภาพบำบัด บรรเทาอาการปวดตามข้อกระดูก
4. รักษาโรคบางชนิด เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ รูมาติซึม ข้ออักเสบ
5. ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ ขจัดหินปูนที่ฟัน
6. ฆ่าเชื้อโรค
หายเร็วๆ นะ "ออม"